การประยุกต์ใช้วิธี VLSN สำหรับแก้ปัญหาการหาสถานที่ตั้งคลังสินค้าหลายแห่งและการจัดเส้นทางขนส่ง

Titleการประยุกต์ใช้วิธี VLSN สำหรับแก้ปัญหาการหาสถานที่ตั้งคลังสินค้าหลายแห่งและการจัดเส้นทางขนส่ง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsสุคนธ์ทิพย์ สินวิวัฒนกุล
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTS ส748ก 2558
KeywordsVLSN, การขนส่ง--การวางแผน, การจัดการอุตสาหกรรม--แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, การจัดการเส้นทางขนส่ง, การบริหารงานโลจิสติกส์, ฮิวริสติกอัลกอริทึม
Abstract

งานวิจัยนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งโรงแป้งมันสำปะหลังจำนวน 2 โรงงาน และการจัดเส้นทางการขนสิ่งของลานมัน 261 ลานมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อหาค่าจ่ายในการดำเนินการน้อยที่สุด โดยรถบรรทุกแต่ละคันสามารถบรรทุกมันสำปะหลังได้สูงสุด 30 ตัน แต่ละลานมันสำปะหลังสามารถขายมันสำปะหลังให้กับโรงแป้งมันสำปะหลังพร้อมกันทั้งสองโรงแป้งได้จนกว่าสินค้าจะหมด และโรงงานแป้งมันสำปะหลังจะต้องได้วัตถุดิบมันสำปะหลังครบจำนวน 1,200 ตันต่อวัน
ผู้วิจัยนำเสนอวิธี ฮิวริสติก เพื่อแก้ปัญหาโดยใช้เทคนิควิธีสุ่มแบบละโมบ (Greedy Randomized Adaptive Search Procedure; GRASP) เพื่อจัดตั้งโรงผลิตแป้งมันสำปะหลังจากบัญชีรายชื่อที่สร้างขึ้นด้วยวิธี Nearest Insertion จากนั้นทำการหาคำตอบเริ่มต้นและปรับปรุงคำตอบด้วยวิธี Very Large Scale Neighborhood Search (VLSN) เพื่อให้ได้เส้นทางขนส่งที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ร่วมกับวิธีการหาคำตอบแบบวนซ้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการค้นหาคำตอบ ผู้วิจัยได้ออกแบบการทดลองโดยการปรับพารามิเตอร์ 3 ตัว คือ จำนวนรอบในการวนซ้ำ ร้อยละเพื่อสร้างบัญชีรายชื่อและเปอร์เซ็นต์ในการรบกวนคำตอบ
ผลการทดลองพบว่า จำนวนรอบในการวนซ้ำมีผลต่อการค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด เมื่อเพิ่มจำนวนรอบในการค้นหาคำตอบโอกาสในการพบคำตอบที่ดีขึ้นจะเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ด้านร้อยละเพื่อสร้างบัญชีรายชื่อนั้นมีผลต่อคำตอบที่ดีเมื่อค่าร้อยละมีค่าต่ำ ส่วนการรบกวนคำตอบนั้นไม่มีผลต่อคำตอบที่ดีที่สุดในภาพรวม
เมื่อกำหนดจำนวนรอบในการค้นหาคำตอบเป็น 100 รอบ และร้อยละ เพื่อสร้างบัญชีรายชื่อเป็น 20 โดยไม่มีการวนซ้ำ จะได้คำตอบที่ดีที่สุด ซึ่งพบว่า ลานมันที่ 11 (ต.บัวงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี) และที่ ลานมันที่ 22 (ต.คอนสาย อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี) ถูกเลือกให้เป็นตำแหน่งที่ตั้งของโรงแป้งมันสำปะหลัง มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการน้อยที่สุดที่ 167,365.28 บาทต่อวัน
เพื่อที่จะวัดประสิทธิภาพของวิธีฮิวริสติกที่นำเสนอ ผู้วิจัยได้ทดสอบปัญหา MDVRP จาก OR-Library 33 ปัญหา และเปรียบเทียบคำตอบที่ได้จากฮิวริสติกกับคำตอบที่ดีที่สุดที่ทราบค่าผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่า วิธีฮิวริสติกมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา MDVRP สามารถหาคำตอบที่ดีที่สุดใหม่ได้ 1 ปัญหา และหาคำตอบได้เท่ากับคำตอบที่ดีที่สุดที่ทราบค่าอีก 21 ปัญหา โดยมีค่าเฉลี่ยความคาดเคลื่อน 0.18 เปอร์เซ็นต์

Title Alternate An application of VLSN for solving multi-depot location routing problems