การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และวิธีการสอนตามปกติ

Titleการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และวิธีการสอนตามปกติ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsจงรัก ประทุมชาติ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQA จ126ก 2558
Keywordsการสอนคณิตศาสตร์, การสอนวิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, ทฤษฎีสรรคนิยม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกแบบเจาะลง (Purposive Sampling) และได้จับสลากแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 22 คน เป็นกลุ่มทดลองสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 22 คน เป็นกลุ่มควบคุมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และแผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติแบบละ 11 แผน ทำการสอนแผนละ 50 นาที และแบบทดสอบ 2 ฉบับ คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ (p) ตั้งแต่ 0.22-0.78 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.25-0.38 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.81 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันเอกโพเนนเชียลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ (p) ตั้งแต่ 0.21-0.96 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.25-0.89 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ rcc) เท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
(1)นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันเอกโพแนนเชียลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(2)นักเรียนที่ได้รับการสอนตามปกติ มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันเอกโพเนนเชียลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(3) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มีความสามารถในการคิดวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(4)นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Title Alternate Comparison of critical thinking abilitie and achievement in exponential functions between learning using constructivist theory and traditional learning