ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาในการรับรู้พลังอำนาจการรับรู้ความสามารถ พฤติกรรมมารดา และต่อภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก

Titleผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาในการรับรู้พลังอำนาจการรับรู้ความสามารถ พฤติกรรมมารดา และต่อภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsกมลธิดา เหล่าบุตรสา
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRJ ก131 2559
Keywordsการส่งเสริมสุขภาพ, น้ำหนักทารกแรกเกิดน้อย, พฤติกรรมมารดา, ภาวะสุขภาพ, มารดา--พฤติกรรม, มารดาและทารก, โปรแกรมสุขภาพ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาในการรับรู้พลังอำนาจ การรับรู้ความสามารถ พฤติกรรมมารดาและต่อภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากหลังจำหน่าย และเมื่อมาตรวจตามนัด ระยะ 2 สัปดาห์ และ 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดา และทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,500 กรัม ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้จำนวน 30 ราย แล้วใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ตามช่วงสัปดาห์ที่ทารกรับการรักษา เข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 15 ราย และกลุ่มควบคุมจำนวน 15 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนสุขศึกษาตามปกติจากพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ เครื่องชั่งน้ำหนักตัวสำหรับทารก และสายวัดตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสมการถดถอย
ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุโดยควบคุมตัวแปร การศึกษา อาชีพหลัก และค่าคะแนนก่อนการทดลองได้แก่ การรับรู้พลังอำนาจ การรับรู้ความสามารถ พฤติกรรมมารดา พบว่า หลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้พลังงาน (p<.001) การรับรู้ความสามารถ (p<.001) และสามารถมารดา (p<.001) ของมารดากลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการติดตามภาวะสุขภาพด้ายการเจ็บป่วย และด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุโดยควบคุมตัวแปรพื้นฐานของทารกคือ เพศ อายุครรภ์แรกเกิดของทารก คะแนนแอฟการ์ เส้นรอบศีรษะ ความยาวลำตัว น้ำหนักตัวแรกเกิด อายุปัจจุบัน จำนวนวันนอนและตัวแปรพื้นฐานของมารดาที่แตกต่างกัน คือ การศึกษา และอาชีพหลัก พบว่า ในการติดตามระยะ 2 สัปดาห์ และ 3 เดือน ค่าคะแนนภาวะสุขภาพการเจ็บป่วย เส้นรอบศีรษะ ความยาวลำตัว และน้ำหนักตัวของทารกทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน เว้นแต่ภาวะสุขภาพด้านการเจ็บป่วยในระยะ 3 เดือน พบว่า ค่าคะแนนภาวะสุขภาพด้านการเจ็บป่วยของทารกกลุ่มทดลอง ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมสุขศึกษาที่จัดขึ้นสามารถทำให้มารดาที่คลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก มีการรับรู้พลังอำนาจ การรับรู้ความสามารถดีขึ้น และมีพฤติกรรมถูกต้องมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของมารดาที่เกิดขึ้น ยังส่งผลดีต่อภาวะสุขภาพของทารกด้านการเจ็บป่วยลดน้อยลง เมื่อตืดตามระยะ 3 เดือน หลังจำหน่าย ดังนั้น โปรแกรมการให้สุขศึกษานี้น่าจะมีประโยชน์และสามารถนำไปประยุกต์ในสถานการณ์จริงได้

Title Alternate Effects of an empowerment promotion program on mothers' perceptions of their empowerment, self-efficacy, behavior, and the health statud of their very low birth weight newborns