การพัฒนาทักษะความรู้ขั้นสูงและทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

Titleการพัฒนาทักษะความรู้ขั้นสูงและทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsวิชัย ลาธิ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQ ว542 2555
Keywordsการสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เน้นทักษะความรู้ขั้นสูงและทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จำนวน 12 ชั่วโมง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 และ 5/2 จำนวน 63 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก จำนวน 118 คน จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 26.13, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.09) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 8.75, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.51) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (p<0.001, t 22.23, df 62) และจากการแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน ตามคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยนักเรียนทั้งสามกลุ่มมีความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยนักเรียนทั้งสามกลุ่มมีความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 40.63, 46.45 และ 38.50 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างอิสระต่อกัน พบว่า นักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน มีคะแนนความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่ามีนักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการในภาพรวมในระดับ “ดี” (ร้อยละ 73.82) โดยมีทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปรในระดับ “ดีมาก” (ร้อยละ 82.29) ทักษะการตั้งสมมติฐาน (ร้อยละ 74.06) และการทดลอง (ร้อยละ 76.58) อยู่ในระดับ “ดี” แต่มีทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (ร้อยละ 65.77) อยู่ในระดับ “พอใช้” ทั้งนี้ การใช้กิจกรรมทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) สามารถสร้างความสนใจของนักเรียนและกระตุ้นให้เกิดคำถาม แล้วดำเนินการสำรวจและหาคำตอบตามกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

Title Alternate Enhancement of higher-order cognitive and integrated science process skills by using science inquiry learning activities of chemical reaction rates
Fulltext: