การผลิตสารต้านทานแบบโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อเอเชียติโคไซด์เพื่อการควบคุมคุณภาพบัวบก

Titleการผลิตสารต้านทานแบบโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อเอเชียติโคไซด์เพื่อการควบคุมคุณภาพบัวบก
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2555
Authorsทวีศักดิ์ จึงวัฒนตระกูล
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQK495.U48 ท228 2555
Keywordsบัวบก, บัวบก--องค์ประกอบทางเคมี
Abstract

เอเชียติโคไซด์เป็นสารประกอบกลุ่มไตรเทอร์ปินอยด์ซาโปนิน ที่พบเป็นองค์ประกอบหลักในบัวบก (Centella asiatica (L.) Urban) ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทยที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางยามาเป็นเวลานาน โดยใช้สารเอเซียติโคไซด์แสดงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญได้แก่ ช่วยเพิ่มความจำและป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ สมานแผลและรักษาแผลเปื่อย ต้านการซึมเศร้า ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นกระบวนการสร้างคอลลาเจน กระตุ้นหรือเสริมภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิต ต้านการอักเสบ ป้องกันการเกิดมะเร็ง และปกป้องเซลล์ประสาท จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้มีการใช้บัวบกเป็นส่วนประกอบในเภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ และเครื่องสำอางหลายประเภทในปัจจุบัน ดังนั้นการควบคุมคุณภาพและปริมาณสารที่ออกฤทธิ์ในวัตถุดิบบัวบกจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้บริโภค ทั้งในด้านความปลอดภัยและเพื่อประสิทธิผลในการไข้ ในการศึกษาวิจัยนี้ได้ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะต่อสารเอเชียติโคไซด์ และพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารเอเชียติโคไซด์ด้วยวิธีการทางอิมมูโนโลยี ได้แก่ เอนไซม์-ลิงค์ อิมมูโนแอสเซย์ (อิไลซา) และอิสเทิร์นบล็อททิง โดยวิธีอิไลซาสามารถตรวจวัดปริมาณสารเอเชียติโคไซด์ได้ในช่วง 0.78-25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรและวิธีอิสเทิร์น บล็อททิงสามารถตรวจวัดปริมาณสารเอเชียติโคไซด์ได้ในช่วง 62.5-500 นาโนกรัม เมื่อทำการตรวจรับรองความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทั้งสองวิธี พบว่า มีความถูกต้องและแม่นยำ รวมถึงมีความสอดคล้องกันกับวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงซึ่งใช้เป็นวิธีมาตรฐาน ดังนั้นวิธีอิไลซา สามารถใช้เป็นวิธีมาตรฐานในการวิเคราะห์ปริมาณสารเอเชียติโคไซด์ในทั้งตัวอย่างพืชและผลิตภัณฑ์ ในขณะที่วิธีอิสเทิร์นบล็อททิงเหมาะกับการวิเคราะห์เฉพาะในตัวอย่างพืชเท่านั้น โดยทั้งสองวิธีเป็นวิธีที่มีความไวและมีความจำเพาะเจาะจงสูง ทำให้สามารถวิเคราะห์สารได้อย่างสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน นอกจากนี้ยังได้ทำการพัฒนาชุดทดสอบสารเอเชียติโคไซด์เพื่อใช้คัดกรองวัตถุดิบบัวบกเบื้องต้น ชุดทดสอบที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจสอบสานได้ในเวลา 10-15 นาที โดยใช้ปริมาณตัวอย่างเพียงเล็กน้อย ปริมาณสารต่ำสุดที่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ด้วยชุดทดสอบ คือ 12.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร

Title Alternate Production of monoclonal antibody against asiaticoside for quality control of the Centella asiatica (L.) Urban