การบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างมีส่วนร่วมที่มีศักยภาพ: กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านปลาดุกใต้ หมู่ 16 ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และหมู่บ้านทองสวัสดิ์ หมู่ 9 ตำบลหนองอ้ม อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างมีส่วนร่วมที่มีศักยภาพ: กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านปลาดุกใต้ หมู่ 16 ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และหมู่บ้านทองสวัสดิ์ หมู่ 9 ตำบลหนองอ้ม อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsวารี ทองชุม
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHN ว484 2558
Keywordsกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง--การบริหาร--อุบลราชธานี, การจัดการหมู่บ้าน
Abstract

การศึกษาการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างมีส่วนร่วมที่มีศักยภาพ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีศักยภาพ 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนในการบริหารของคณะกรรมการกองทุนที่ประสบความสำเร็จ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีส่วนเสริมสร้างการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้ประสบความสำเร็จ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากรายงานผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกองทุน ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุนด้วยการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสังเกตการณ์ การตรวจเยี่ยมกิจกรรม และการจัดประชุมกลุ่มย่อย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้ศึกษาได้แบ่งเป็น 1) แบบสอบถามงานวิจัย 2) แบบสัมภาษณ์เพื่อการค้นคว้าแบบอิสระ 3) การสังเกตการณ์หรือการเข้าร่วมกิจกรรม และ 4) การสนทนากลุ่มย่อย
การศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่ามีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาในอีกหลายมิติ เช่น ในเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายให้แก่คณะกรรมการ การฝึกอบรมทบทวนการจัดทำบัญชีและการส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงาน ดำเนินการสนับสนุนให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยนำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นมาสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนและมีความพยายามจะจัดระบบองค์กรสถาบันการเงินชุมชนในบางแห่ง ทั้งนี้เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นแหล่งเงินทุนสร้างโอกาสให้ชุมชนได้จัดระบบหมุนเวียนทุนและลดช่องทางการสูญเสียค่าใช้จ่ายไปกับดอกเบี้ยเงินกู้ของนานทุนนอกระบบ และนำเงินรายได้ที่เกิดขึ้นไปส่งเสริมการจัดสวัสดิการเพื่อสร้างสวัสดิภาพให้แก่สมาชิกและชุมชนในด้านต่าง ๆ โดยการศึกษานี้ได้กล่าวถึงที่มาของนโยบายสาธารณะดังกล่าว ลำดับการพัฒนาปัจจัยที่จำเป็นในการบริหารจัดการและกิจกรรมการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้ายและชุมชนเมือง ในตอนท้ายงานชิ้นนี้ได้ยกข้อเสนอด้านการมีส่วนร่วม บทบาทผู้นำ อันมาจากการศึกษาครั้งนี้ โดยผู้วิจัยได้สัมภาษณ์และศึกษาเอกสารจากกองทุนหมู่บ้านปลาดุกใต้และหมู่บ้านทองสวัสดิ์ ผู้วิจัยพบว่ากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีระยะเวลาการดำเนินงานมากกว่า 13 ปีแล้วนั้น ผลการดำเนินงานในแต่ละแห่งมีความต่างในคุณภาพ ผลผลิตและเสถียรภาพในการดำเนินงาน

Title Alternate The achivement village fund management by particioatory: a case study of Pladuktai village Moo 16, Rai-Noi district, Mueang district, Ubon Ratchathani province and Thongsawas villafe Moo 9, Nong-Om sub-district, Thung Si Udom district, Ubon Ratchathani pr