A comparison of fishery production from naturally recruited and stocking of hatcery readed seed in culture-based fisheries in Lao people's democratic republoc

TitleA comparison of fishery production from naturally recruited and stocking of hatcery readed seed in culture-based fisheries in Lao people's democratic republoc
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
AuthorsAkhane Phomsouvanh
DegreeMaster of Science--Major in Agriculture
InstitutionFaculty of Agriculture, Ubon Ratchathani University
CityUbon Ratchathani
Call NumberSH A315 2015
KeywordsFish--culture--Laos, Fisheries--Laos, Fishery management--Laos, การประมงน้ำจืด, การปล่อยเลี้ยงในธรรมชาติ, การเลี้ยงปลา, ลาว
Abstract

การประมงแบบปล่อยเลี้ยงในธรรมชาติ (Culture-based fisheries, CBF) ได้มีการดำเนินการและประสบความสำเร็จในหลายประเทศทั่วโลกในการเพิ่มผลผลิตในการประมง ซึ่งชี้ชัดให้เห็นว่าปลาจากระบบฟาร์มเพาะเลี้ยงที่นำไปปล่อยเลี้ยงสามารถมีส่วนสำคัญในการช่วยผลผลิตในธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างงานและรายได้ในชุมชน การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการทดลองที่จังหวัดเวียงจันทร์และบอลิคำไซ โดยทำในแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีน้ำไม่ตลอดทั้งปีที่เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชุมชนทั้งในเรื่องการเพาะปลูก ชลประทาน และกิจกรรมอื่น ๆ ของครัวเรือนรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำ การศึกษาได้ดำเนินการตั้งแต่ 2 ถึง 5 รอบการเลี้ยง ซึ่งระยะเวลาในแต่ละรอบการเลี้ยงใช้เวลา 6 ถึง 8 เดือน ในทุก ๆ กรณีศึกษาพบว่า ผลผลิตทางการประมงและรายได้ในชุมชนที่ได้จากกิจกรรมประมงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้และการบริโภคอาหารจากปลาสำหรับแต่ละครัวเรือน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาอีกส่วนได้ทำการคัดเลือกแหล่งน้ำในโครงการจำนวน 14 แหล่ง เพื่อทำการศึกษารูปแบบและผลสัมฤทธิ์ของชนิดปลาที่ทำการปล่อย รูปแบบของการปล่อยจะประกอบด้วยปลาสามชนิดหลักที่มีการปล่อยเป็นปกติในการประมงแบบปล่อยเลี้ยงในธรรมชาติ ได้แก่ ปลานิล ปลาใน และปลาตะเพียน ศึกษาควบคู่ไปกับรูปแบบการปล่อยที่มีปลากะโห้เทศและปลาลิ่น โดยศึกษาถึงอิทธิพลของการปล่อยในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อผลผลิตของปลาในธรรมชาติ ซึ่งพบว่าถึงแม้นว่าจำนวนของลูกปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงในธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี (รอบการปล่อยเลี้ยง) แต่จะพบความผันแปรน้อยมาก และไม่พบความแตกต่างทางสถิติในผลจับปลาธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังพบว่าระดับความหนาแน่นที่เหมาะสมในการปล่อยจากทุกแหล่งน้ำที่ทำการศึกษาให้ค่าประเมินจำนวนลูกปลาที่ปล่อยรวมทุกชนิดอยู่ที่ 3,000-5,000 ตัวต่อแฮคเตอร์ สำหรับการติดตามค่าอัตราการเติบโตจำเพาะ (specific growth rate; SGR) พบว่า มีค่าสูงที่สุดในปลานิล แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับปลาตะเพียนขาว ในขณะที่ปลาไนมีค่าอัตราการเติบโตจำเพาะต่ำที่สุดและแตกต่างอย่่างมีนัยสำคัญกับปลาชนิดสองชนิดแรก สำหรับในการประเด็นค่าปัจจัยสภาวะ (condition factor; K) พบว่ามีแนวโน้มไปทางเดียวกับค่าอัตราการเติบโตจำเพาะโดยมีค่าจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดจาก ปลานิล, ปลาตะเพียน และปลาไน ตามลำดับ และแตกต่่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างแต่ละชนิด ผลจากการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นแนวทางพื้นฐานในการดำเนินการการประมงแบบปล่อยเลี้ยงในธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของชุมชนในอนาคตและสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาดังกล่าว

Culture-based fisheries (CBF) have been successfully developed across the world in order to increase productivity of capture fisheries; fish farming has showed to be an important contributor to national food security, rural employment and income generation. The study was conducted in Vientiane and Bolikhamxay province, and reservoirs coves and small non-perennial water bodies that are central to the communities, primarily for rice paddy irrigation and other household needs, around these. A minimum of two cycles to a maximum of five cycles, each of 6 to 8 months duration, were successfully completed in all selected water bodies. In all instances the income of the communities from CBF activities was significant higher that obtained from un-organized fishery activities of the respective water bodies, and there were significant improvement in gain the fish production and financial gain as well as the food fish supplies for household consumption. Data are presented on CBF, an extensive aquaculture practice of community managed stocked and recapture, conducted in 14 water bodies of varying sizes in Lao PDR. The pattern of combination, three fish species were commonly stocked in CBF practices in Lao PDR viz, tilapia, common carp, and silver barb. The combinations of stocking regimes were tested on the possible effects of wild fish yield. Although the numbers of stocked seeds were higher from cycle to cycle, less variability and non-significant difference in total wild fish yield. The yield of the stocked species in all studies water bodies obtained the appropriate stocking density should range between 3,000-5,000 fingerlings/ha. In term of the specific growth rate (SGR), the results showed that tilapia has the highest SGR but not significant to silver barb. Meanwhile, common carp showed the lowest SGR significantly different to the other two species. The condition factor (K) also showed similar trend as SGR and the order of the species from the highest to lowest K is as tilapia, silver barb, and common carp, in which the K-values of all the three species were significantly differently to each other. Such studies provide valuable baseline information, which help CBF to be placed on a more scientific footing, and ultimately enable rural communities to benefit even further and make the process more sustainable in the long term for development strategies for the country to establish sustainable culture-based fisheries.

Title Alternate การเปรียบเทียบผลผลิตทางการประมงจากปลาที่แทนที่ตามธรรมชาติกับปลาจากโรงเพาะฟักที่เลี้ยงในระบบการปล่อยเลี้ยงในธรรมชาติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว