พยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนปฐมวัย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนปฐมวัย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2552
Authorsสรญา แก้วพิทูลย์, ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์
Institutionวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRJ406.E58 ส325
Keywordsพยาธิเส้นด้าย--อุบลราชธานี--อำเภอวารินชำราบ, เด็กวัยก่อนเข้าเรียน--โรค--อุบลราชธานี--อำเภอวารินชำราบ, โรคพยาธิเส้นด้าย--อุบลราชธานี--อำเภอวารินชำราบ
Abstract

พยาธิเข็มหมุด เป็นหนอนพยาธิที่พบได้ทั่วไปในเขตร้อน และมักพบในเด็กก่อนปฐมวัยและปฐมวัย การติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการอย่างไรก็ตามก็อาจจะพบการอักเสบตามทวารหนักและช่องคลอด ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก และท้องร่วง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็ก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2550-เดือนมกราคม พ.ศ. 2552 จำนวน 401 ราย ตรวจพยาธิเข็มหมุดโดยวิธี Scotch tape technique กลุ่มตัวอย่่างที่ศึกษาเป็นเพศชายและเพศหญิง คิดเป็น 52.9% และ 47.1% ตามลำดับ อายุเฉลี่ย 4 ปี พบผู้ติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดจำนวน 31 ราย ความชุกของการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดเท่ากับ 7.73% พบการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดในเพศชาย (4.24%) มากกว่าเพศหญิง (3.49%) ตามลำดับ พบมากที่สุดในกลุ่มอายุเฉลี่ย 4 ปี คิดเป็น 4.24% เมื่อจำแนกตามสถานที่ พบการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด จำนวน 11 ศูนย์ จากทั้งหมด 14 ศูนย์ มีอัตราการติดเชื้อสูงที่สุด คือ หนองกินเพล (18.8%) รองลงมา คือ คูยาง (18.2%) และบ้านถ่อน (17.4%) ตามลำดับ จากการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า เด็กก่นปฐมวัยจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจพยาธิเข็มหมุดอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ควบคู่ไปกับการให้สุขศึกษา โดยเน้นเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเพื่อเป็นการลดอัตราการติดเชื้อ

Title Alternate Enterobius vermiclaris infection among pre-school children in Warinchamrap District, Ubonratchathani Province