ศักยภาพการเพาะเห็ดหอมในจังหวัดอุบลราชธานี

Titleศักยภาพการเพาะเห็ดหอมในจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2544
Authorsยุวดี ชูประภาวรรณ, บุญส่ง เอกพงษ์, อุทัย อันพิมพ์, อรุณรัตน์ อนันตทัศน์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB353.5.L46 ย442
Keywordsเห็ดหอม, เห็ดหอม--การเพาะเลี้ยง, เห็ดหอม--การเพาะเลี้ยง--อุบลราชธานี
Abstract

เห็ดหอมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่สูง อากาศหนาวเย็นและมีความชื้นสูง ปัจจุบันมีเห็ดหอมหลากหลายสายพันธ์สามารถเพาะได้ในพื้นที่ราบที่อุณหภูมิของบรรยากาศ มีความแปรปรวนของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการเพาะเห็ดหอม 5 สายพันธุ์ ได้แก่สายพันธุ์เบอร์ 1,2,3,4 และ 5 ในจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2544 ถึงเดือนมีนาคม 2546 โดยในปี พ.ศ.2544-2545 ศึกษาเปรียบเทียบสูตรอาหาร 4 สูตร คือ M1, M2, M3 และ M4 ที่เหมาะสมต่อการเพาะเห็ดหอม 5 สายพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่าสูตรอาหาร M3 ทำให้เห็ดหอมมีผลผลิตสูงสุด และปี พ.ศ. 2545-2546 เพาะเลี้ยงเห็ดหอม 5 สายพันธุ์บนอาหารสูตร M3 เพื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการกระตุ้นการออกดอกเห็ด 5 วิธีการ ได้แก่ 1)แช่ในน้ำเย็น 10 องศาเซลเซียสนาน 2 ชั่วโมง 2)นำก้อนเห็ดวางชิดกัน เทน้ำแข็งลงบนก้อนเห็ดหนาประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วปล่อยให้น้ำแข็งละลาย 3)คว่ำก้อนเชื้อบนพื้นทรายนาน 2 วัน 4)ตีก้อนเชื้อ 1 ครั้ง 5)วางก้อนเชื้อบนพื้น ไม่มีการกระตุ้น ผลการศึกษาพบว่า วิธีกระตุ้นการเกิดดอกโดยการแช่ก้อนในน้ำเย็น ให้ผลผลิตมากที่สุด โดยสายพันธุ์ที่เหมาะสมคือสายพันธุ์เบอร์ 4 รองลงมาได้แก่ สายพันธุ์เบอร์ 2

Title Alternate Possibility in cultivation shitake mushroom ((Lentinula edodes (Berk) Sing) in Ubon Ratchathani province