การจัดการความรู้อาหารสุกรที่สอดคล้องในบริบทเกษตรกรรายย่อยในอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

Titleการจัดการความรู้อาหารสุกรที่สอดคล้องในบริบทเกษตรกรรายย่อยในอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsประสงค์ อาจหาญ
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาพัฒนบรูณาการศาสตร์
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSF ส389ก
Keywordsสุกร--การเลี้ยง--การจัดการ, สุกร--อาหาร, อาหารสัตว์, อาหารสัตว์--แง่โภชนา, โภชนาการสัตว์
Abstract

ภูมิความรู้เดิมที่เกษตรกรรายย่อยเคยนำมาใช้กับการจัดการอาหารสุกร เป็นชุดความรู้ที่เกษตรกรรายย่อยกลุ่มศึกษาจำนวน 20 คน นำมาใช้กับสภาพการเลี้ยงสุกรนั้นยังไม่พอเพียง ถ้าจะเลี้ยงสุกรเกษตรกรรายย่อยจะต้องมีความรู้ใหม่ และเป็นชุดความรู้ที่ใช้ได้กับสถานการณ์ในปัจจุบัน เกษตรกรรายย่อยที่จะเลี้ยงสุกรต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาอาหารสุกรที่นับวันที่จะมีราคาแพงขึ้น ดังนั้นเกษตรกรรายย่อยจึงต้องมีการปรับแนวคิดวิธีการให้อาหารสุกร ชนิดหัวอาหาร รำผสมกับหัวอาหาร รำต้มรวมกับเศษอาหารและผักโขม และชนิดรำกับผักพื้นบ้านที่สอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมและปัจจัยอื่นที่จะนำมาพัฒนาประกอบกิจการฟาร์มให้ดีมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการจัดการความรู้อาหารสุกร และเปรียบเทียบการเลี้ยงสุกรในการให้อาหารสุกรที่สอดคล้องในบริบทเกษตรกรรายย่อยในอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อนำข้อมูลการจัดการความรู้อาหารสุกร ที่สอดคล้องในบริบทเกษตรกรรายย่อย ให้เป็นชุดความรู้ของเกษตรกรในชุมชน
วิธีการศึกษาดำเนินงานตามระเบียบวิธีการวิจัยอย่างมีส่วนร่วม วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในพื้นที่ให้บริการ ของมหาชีวาลัยอีสานในอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อาศัยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การพบปะสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์ระดับลึก การคัดลอกข้อมูลที่มีอยู่แล้ว การเสวนาแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เกี่ยวข้อง และมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ ด้วยการตรวจสอบสามเส้าทั้งด้านข้อมูล ด้านผู้วิจัย ด้านทฤษฎี ด้านวิธีรวบรวมข้อมูล และด้านรายงานวิจัย
เกษตรกรรายย่อยกลุ่มที่ให้อาหารสุกรชนิดหัวอาหาร มีวิธีการจัดการความรู้เกี่ยวกับอาหารสุกร ด้วยวิธีการเลี้ยงสุกรแบบสมบูรณ์สนองตอบความต้องการผู้บริโภคทั่วไป เกษตรกรรายย่อยกลุ่มนี้ เสี่ยงต่อวิธีการจัดการฟาร์มให้เทียบเท่าฟาร์มสุกรที่ได้มาตรฐาน ที่มีในท้องถิ่นเมื่อเกิดวิกฤตสุกร เกษตรกรรายย่อยกลุ่มที่ให้อาหารสุกรชนิดรำผสมกับหัวอาหาร มีวิธีการจัดการความรู้อาหารสุกรเพื่อเลี้ยงสุกรสนองตอบผู้บริโภคในชุมชนตามประเพณีนิยม มีหลักการและวิธีการพัฒนากิจการฟาร์มตลอดเวลา เป็นกลุ่มเกษตรรายย่อยที่เลี้ยงสุกรแบบยั่งยืน เกษตรกรรายย่อยกลุ่มที่ให้อาหารสุกรชนิดรำต้มรวมกับเศษอาหารและผักโขม มีวิธีการจัดการความรู้อาหารสุกรเพื่อเลี้ยงสุกรสนองตอบค่านิยมของตัวเอง เป็นเลี้ยงสุกรเฉพาะกิจ เกษตรกรรายย่อยกลุ่มที่ให้อาหารสุกรชนิดรำกับผักพื้นบ้าน มีวิธีการจัดการความรู้อาหารสุกรเพื่อเลี้ยงสุกรสนองตอบความต้องการที่จะเลี้ยงไว้เป็นอาหารในครัวเรือน สร้างกิจกรรมเสริมรายได้ให้กับครัวเรือน ผลกระทบที่เกษตรกรรายย่อยได้รับจากการจัดการความรู้อาหารสุกรโดยการเรียนรู้เองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับกลุ่มและนอกกลุ่มจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ทำให้เกิดระบบเครือข่ายกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในชุมชนขึ้นมา เป็นการสร้างนวัตกรรมทางสังคมผู้เลี้ยงสุกร

Title Alternate Knowledge management of pig feed suited to small-scale farmers in Sateuk district, Buriram province
Fulltext: